วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะตูม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

Posts Tagged น้ำมะตูม

มะตูม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรเป็นสิ่งมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ที่บรรพบุรุษไทยของเราใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านศึกษาอย่างชาญฉลาด จนนำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพกาย-ใจ อย่าน้ำมะตูมเครื่องดื่มประจำครอบครัวของคนไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณกาลที่มีสรรพคุณทางยา และมีคุณประโยชน์ทางอาหารมากมาย จึงถือได้ว่า มะตูม เป็นพืชสมุนไพรยอดฮิตชนิดหนึ่ง ที่ตลาดสมุนไพรขาดไม่ได้ และผู้บริโภคก็หาซื้อได้ง่าย

มะตูมเป็นไม้ยืนต้น โดยมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างและใช้เรียกกันแตกต่างไป เช่น ตูม  ตุ่มตัง  กะทันตาเถร (ปัตตานี)  มะปิน (เหนือ) บักตูม หมากตูม (อีสาน)

ลักษณะของมะตูม ผล มีผิวเกลี้ยง เปลือก หนาและแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ในผลมะตูมมีเมล็ดตรงกลางเป็นพู มียางเหนียวใส นำมาใช้เป็นกาวจากธรรมชาติได้ เนื้อมะตูมมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลานำมาต้มเป็นชาจะมีกลิ่นหอมมาก เวลาสุกเนื้อจะนิ่มเป็นสีเหลืองหอมและมีรสหวานด้วย
มะตูมที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน ส่วนมากจะอยู่ในรูปของมะตูมแห้งเป็นแว่นที่มีขายตามร้านยาแผนโบราณ, ร้านขายสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่รักและห่วงใยสุขภาพเท่านั้น ซึ่งนิยมนำมะตูมแว่นมาต้มเป็นน้ำมะตูมที่มีกลิ่นหอม สำหรับดื่มให้ชื่นใจ แก้กระหายน้ำ แถมยังให้คุณค่าอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมายด้วย เช่น  
  • เปลือกของรากและลำต้นของมะตูม สามารถลดไข้ และใช้เป็นยารักษาไข้มาลาเรียในสมัยก่อน ขับลมในลำไส้ 
  • ราก แก้พิษฝี พิษไข้ รักษาน้ำดี       
  • ใบสด แก้ไอ ขับเสมหะ หากมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ให้เอาใบมะตูมดิบๆ มาคั้นเอาน้ำเพื่อดื่ม ช่วยบรรเทาอาการไอและเสมหะเรื้อรังลงได้มี      
  • ผลมะตูม ผลอ่อนที่มีสีเขียว ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับลมในท้อง ผลแก่แก้เสมหะ ช่วยย่อยอาหาร และยังสามารถเอาผลสุกมาชงดื่มเป็นยาแก้ร้อนใน หรือ เอามะตูมตากแห้งมาต้มเป็นชาสมุนไพรก็จะได้ผล็อย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ผลดิบแห้งยังใช้แก้บิด และแก้ท้องเสียในเด็กได้ด้วย ส่วนผลสุกนั้นกลับเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีโดยเฉพาะในเด็ก

การดื่มน้ำมะตูมเย็นๆ ยังสามารถทำให้อารมณ์ที่ร้อนรุ่มขุ่นมัวของคุณเย็นลงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ พร้อมเติมพลังให้กับร่างกายในยามที่อ่อนล้า คนโบราณยังเชื่ออีกว่าว่า มะตูม เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถทำให้เกิดกำลังใจ และความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้ มะตูม ยังมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และพิธีมงคลของไทย อย่างเช่น เวลาเข้ากราบบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินไปรับราชการ หรือ ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ก็จะได้รับพระราชทานใบมะตูมเป็นสิริมงคล งานสมรสพระราชทานคู่บ่าวสาวก็จะมีใบมะตูมทัดหู การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ และการครอบครูก็จะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี อีกทั้ง มะตูม ยังช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้อีกด้วย

สมุนไพร ใบเตย เป็นยาบำรุงหัวใจ

สมุนไพร ใบเตย


ใบเตย หรืออีกหนึ่ง สมุนไพรใบเตย ที่คนไทยรู้จักกันดีเพราะนอกจากเราจะใช้ ใบเตย ในการประกอบอาหารหลาย ๆ อย่าง อีกทั้ง ยังให้กลิ่งหอมและทีสำคัญที่สุด สรรพคุณของใบเตย ยังมีอีกมายมายนักคุณอาจจะคิดไม่ถึง นั้นเรามามาดูสรรพคุณและ ประโยชน์ของใบเตย กันเลยดีกว่าค่ะ

                                    สรรพคุณ / ประโยชน์ ใบเตย

- ผลงานการวิจัยการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้
- วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทยใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยาเตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นลดกระหายน้ำและอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง


วิธีใช้1.ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำจะได้น้ำสีเขียวใช้นำมาผสมอาหารจะช่วยให้อาหารมีสีสวยน่ารับประทานและมีกลิ่นหอมของใบเตย
2.ใช้ในในรูปของใบชาชงกับน้ำร้อนหรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือดเติมน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ดื่มเป็นประจำช่วยบำรุงหัวใจ
3.นำส่วนต้นและรากต้มกับเนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโรคเบาหวา

ตะไคร้ พืชสมุนไพรสรรพคุณสูง


ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่

   1. ตะไคร้กอ
   2. ตะไคร้ต้น
   3. ตะไคร้หางนาค
   4. ตะไคร้น้ำ
   5. ตะไคร้หางสิงห์
   6. ตะไคร้หอม


เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย
- ส่วนที่ใช้ต้น หัว ใบ ราก และต้น
- สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

- Tips
มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย

อัญชันดอกไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณ

     
  อัญชันดอกไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณ   
          อัญชัน ดอกไม้สีสันอมม่วง ที่เป็นพวงชูช่อ ดูแล้วสวยงาม แต่คุณรู้ไหมว่า อัญชัน มีประโยชน์อะไรบ้าง
           ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทน
           น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว
           น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม
           สีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย
           ดอกอัญชัน กินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด

 - ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอก อัญชัน มีหลายประการดังนี้
         - - เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
         - - ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
         - -  สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชัน มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้ จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆเช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้นเพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้นในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก

สรรพคุณ : กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
 
- สรรพคุณ : กระเจี๊ยบแดง

*กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล                                                            
1.เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2.ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
3.น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4.ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
5.น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6.ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7.เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8.เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
*ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
*ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
*ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
*เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด-วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

บทความที่ได้รับความนิยม